77เครื่องยนต์ใหม่ของประเทศ
เมื่อวาน21ส.ค.ผมประชุมศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(Agritech and Innovation Center:AIC)เรียกสั้นๆว่าศูนย์AIC5จังหวัด(พิษณุโลก ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์)ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร(ศูนย์AICพิษณุโลก)ได้เห็นวิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจำนวนมากที่พร้อมถ่ายทอดสู่เกษตรกร ประการสำคัญคือได้สัมผัสถึงความตื่นตัวและความมุ่งมั่นของทุกAICและช่วงบ่ายได้ไปพูดคุยกับสหกรณ์นิคมบางระกำและเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่อำเภอบางระกำ พิษณุโลกโดยให้ศูนย์AICพิษณุโลกเริ่มถ่ายทอดระบบเกษตรอัจฉริยะ เช่นระบบอบข้าวโพดลดความชื้นหลังเก็บเกี่ยว ระบบน้ำหยดอัตโนมัติ ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบเครื่องจักรกล ระบบเซนเซอร์อารักขาพืช ระบบเทคโนโลยีเมล็ดพันธ์ุ(Seed Technology)ฯลฯเพื่อลดต้นทุนเพิ่มรายได้และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้เพิ่มขึ้นจาก1.2-1.8ตันต่อไร่รวมทั้งการเริ่มทะลายคันนาทำแปลงเกษตรเป็นผืนใหญ่และปรับพื้นเรียบเสมอกันที่เรียกว่าLand Levelling รวมทั้งวางระบบกักเก็บน้ำและส่งน้ำให้เพียงพอต่อการผลิตแต่ละรอบ และโมเดลเกษตรผลิตพาณิชย์ตลาดโดยสนับสนุนการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ด้วยแนวทางซีโร่ กิโลเมตร(Zero Kilometer)คือผลิตที่ไหนขายที่นั่น ผลิตจังหวัดใดขายจังหวัดนั่นก่อนเป็นหลักตลาดนำการผลิตเพื่อให้เกษตรกรในฝั่งอุปทาน(Supply Side)เข้าใจตลาดและฝั่งอุปสงค์คือความต้องการ(Demand Side)จากพื้นที่ตลาดที่ใกล้ตัวที่สุด
วันนี้AICเริ่มขับเคลื่อนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอบรมบ่มเพาะด้วยวิทยาการ ภูมิปัญญาไทยและเทคโนโลยีเมดอินไทยแลนด์(Made In Thailand)พร้อมกัน77จังหวัด
เรากำลังปฏิรูปภาคเกษตรด้วยนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0ภายใต้การนำของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรองนายกรัฐมนตรีจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ผู้กำกับดูแลกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ
ภาคเกษตรคืออนาคต
การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่ายและตัองใช้เวลา จึงต้องบริหารเวลา(Time based Management)และบริหารพื้นที่(Area based management)ด้วยการสร้างกลไกและระบบเช่นการจัดตั้งAICทุกจังหวัด(เริ่มเดินหน้าตั้งแต่1มิถุนายน2563)โดยผนึกพลังการทำงานแบบบูรณาการศาสตร์ของ4ภาคี(ภาครัฐ-เอกชน-วิชาการ-เกษตรกร)ทำหน้าที่บอร์ดบริหารAICยึดหลักจังหวัดจัดการตนเองบนศักยภาพของแต่ละจังหวัดเดินหน้าด้วยแผนปฏิบัติการ(Action Plan)ตามบริบทของความแตกต่างในอัตลักษณ์และศักยภาพของพื้นที่แบบตัดเสื้อเฉพาะตัว(Customization-มิใช่ตัดเสื้อแบบเดียวใส่ทุกพื้นที่)ตลอดจนการเรียนรู้และปรับตัวของภาครัฐในการปรับเปลี่ยนการวางกลยุทธ์การบริหารและทำงานใหม่
วิกฤติโควิดและยุคหลังโควิด(Post COVID)มีโอกาสใหญ่หลวงสำหรับประเทศไทยมิใช่มีแต่ปัญหา การแสวงหาโอกาสในวิกฤติทำให้กระทรวงเกษตรและภาคีต่างๆมองเห็นถึงถนนแห่งอนาคตรออยู่เบื้องหน้า
นั่นคือ การขับเคลื่อนสู่ฮับเกษตร(พืช-ปศุสัตว์-ประมง)และอาหารเพราะโลกกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนและอดอยากตามรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO)โดยเฉพาะองค์กรโครงการอาหารโลก(World Food Program:WFP)ระบุว่าประชากรโลกที่เผชิญภาวะความอดอยากขาดแคลนอาหารเพิ่มขึ้น2เท่าเพียงชัาวข้ามปี(ปี2019>2020)
วันนี้ประเทศไทยอยู่ในอันดับ11ของโลกในฐานะประเทศผู้ส่งออกอาหารและอันดับ2ของเอเซียรองจากจีนเท่านั้น
นี่คือศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศของเราที่ต้องให้เครดิตทุกรัฐบาลทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเกษตรกรของเรา
ณ วันนี้พิมพ์เขียวการปฏิรูปภาคเกษตรสู่การเปลี่ยนแปลง(Blueprint for Change)ถูกออกแบบและทำงานอย่างเป็นระบบมีกลไกขับเคลื่อนทั้งส่วนกลางและภูมิภาคท้องถิ่นด้วยการลงมือทำทันทีบนความคาดหมายว่าประเทศไทยจะมีอีก77เครื่องยนต์(Engine of Growth)ซึ่งจะเป็นพลังขับดันอัพเกรดประเทศ ภาคเกษตรและเกษตรกรให้ก้าวพ้นปัญหาความยากจนหนี้สินปัญหาความเหลื่อมล้ำ
และก้าวขึ้นสู่คุณภาพใหม่ของประเทศและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรและประชาชนรวมทั้งการบรรลุเป้าหมายประเทศผู้ส่งออกอาหารท็อปเท็นของโลกตามนโยบายของรัฐบาล…อลงกรณ์ พลบุตร
22 ส.ค. 2563
หมายเหตุ-ตอนต่อไปจะเล่าถึงโครงการFood Industry Transformationการแปลงโรงงานที่ปิดตัวเองเพราะพิษโควิดสู่การเป็นโรงงานผลิตอาหาร ที่โลกกำลังต้องการและยังแก้ปัญหาคนตกงานโดยเฉพาะกลุ่มSME
วันนี้เครื่องจักรผลิตอาหารราคาลดลงมาและทันสมัยที่สุด
จึงเป็นโอกาสปรับรากฐานอุตสาหกรรมอาหารและสร้างตลาดใหม่ให้ภาคเกษตรครั้งใหญ่รวมทั้งการกระจายโรงงานแปรรูปอาหารสู่ภูมิภาคตามฐานการผลิตเกษตรในรูปแบบนิคมอุตสาหกรรมอาหารและFood Innopolis ครับซึ่งได้มอบหมายให้AICกลุ่มจังหวัด(18กลุ่มทั่วประเทศ)ร่วมดำเนินการ