(รายงานพิเศษ)เมื่อ โอรังอัสรี ชนเผ่าดั้งเดิมในพื้นที่ ไดรับสิทธิเข้าถึงสวัสดิการรัฐ ตามนโยบาย เราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ของ ศอ.บต.

(รายงานพิเศษ)เมื่อ โอรังอัสรี ชนเผ่าดั้งเดิมในพื้นที่ ไดรับสิทธิเข้าถึงสวัสดิการรัฐ ตามนโยบาย เราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ของ ศอ.บต.

 

 

“เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เป็นอีกหนึ่งประโยค ที่คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มักจะได้ยินจากปากของ พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) บ่อยครั้ง เมื่อกล่าวถึง ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติของการพัฒนา ที่เป็นเรื่องของ กลุ่ม”เปราะบาง” กลุ่มคนด้วยโอกาส สตรี หยิงหม้าย และ เด็กกำพร้า
ซึ่งผลพวงจากปัญหาความไม่สงบ ที่เกิดจาก ขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์เอ็น ในการทำสงครามกองโจร เพื่อการแบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัด และ 4 อำเภอของ จังหวัดสงขลา ที่เป็นการก่อความไม่สงบละลอกใหม่ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา จนถึงขณะนี้ ทำให้ในพื้นที่ มีกลุ่มคนที่เรียกว่า”เปราะบาง” เหล่านี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐในการที่จะต้อง ยื่นมือเข้าไป”โอบอุ้ม” เพื่อให้ พวกเขามา”ที่ยืน” ในสังคม และมีคุณภาพชีวิต ที่เท่าเทียม กับคนธรรมดาทั่วๆไป


ในบรรดากลุ่ม”เปราะบาง”ต่างๆ จำนวนหลายกลุ่มนั้น ในพื้นที่ บ้านนากอ หมู่ที่ 9 ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา ยังมีกลุ่ม”คนชายขอบ” หรือ”ชนเผ่า” ที่ เรียกตนเองว่าเป็น”เป่าโอรังอัสรี” อาศัยอยู่ จำนวน 6 ครัวเรือน รวมเป็นประชากร 48 คน ซึ่งในอดีตยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้าไปดูแลอย่างจริงจัง โดยปล่อยให้”โอรังอัสรี” กลุ่มนี้ อยู่อย่าง เลื่อนลอย ซึ่ง เสี่ยงต่อการ ที่คนกลุ่มนี้จะตกเป็นเครื่องมือของ กลุ่มคนผู้ไม่หวังดี เพื่อสร้างสถานการณ์
หลังจากที่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) ได้ทำการพัฒนาพื้นที่ ต.อัยเยอร์เวง อย่างจริงจังในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ และการท่องเที่ยว และได้เข้าไปดูแลความเป็นอยู่ของ “โอรังอัสรี” ทั้ง 6 ครอบเรือน มาได้ระยะหนึ่ง ทั้งในด้านคุณภาพชีวิต และการอยู่ร่วมกับกับคนในชุมชนอย่างไม่แปลกแยก


สุดท้าย ศอ.บต. ก็ได้ดำเนินการ รับรองสถานะของกลุ่มชน”โอรังอัสรี” กลุ่มนี้ ด้วยการออกบัตรรับรองสถานะเพื่อใช้ยืนยันความเป็น”ตัวตน” ชั่วคราว และเพื่อใช้ในการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ เช่นการรักษาพยาบาล รวมทั้งสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นที่ฐานอื่นๆ ที่พึงมีพึงได้ ก่อนที่ ศอ.บต. จะได้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะได้ออกบัตรรับรองสถานะของ “โอรังอัสรี”กลุ่มนี้ และกลุ่มอื่นๆ ที่ยังมีอยู่ในพื้นที่ จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ต่อไป
ในอดีตคนในพื้นที่ อ.ธารโต จ.ยะลา เคยเป็นที่อยู่ของ “ชนเผ่าซาไก” หรือที่คนพื้นที่ราบเรียกติดปากว่า”เงาะซาไก” และ “ซาไก” จาก อ.ธารโต ก็เคยถูก”นายทุน” ผู้จัดงาน”สวนสนุก” นำไป”โชว์ตัว”ในงานสวนสนุกต่างๆในเรื่องการ “ยิงลูกดอก” และอื่นๆ เพื่อให้”คนเมือง” ได้ดูได้เห็น ซึ่งยุคนั้น เรื่องของ”สิทธิมนุษย์ชน” ยังเป็นเรื่องที่ ไม่เป็นที่รับรู้ของคนในประเทศ


แต่มา “เงาะซาไก” ใน อ.ธารโต ก็ได้รับพระกรุณาธิคุณจาก “สมเด็จย่า” จนสุดท้ายได้รับสถานะเป็น”คนไทย” ได้ใช้นามสกุลพระราชทานคือนามสกุล”ศรีธารโต” โดยมี นายหลุด ศรีธารโต เป็นต้นตระกูล และเป็นผู้นำ มีหมู่บ้าน ที่ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานของรัฐ และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอยู่ระยะหนึ่ง แต่ภายหลังเกิดปัญหาหลายๆอย่าง และขาดการ วางแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ “เงาะซาไก” ใน อ.ธารโต อพยพ ไปอยู่ในประเทศมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่
วันนี้”เงาะซาไก” ในหลายจังหวัดของภาคใต้ ซึ่งมีอยู่หลายเผ่าพันธุ์ ทั้งที่เรียกตนเองว่า “ชนเผ่ามันนิ” และอื่นๆ ที่ อยู่ใน จ.ตรัง จ.พัทลุง และ จ.สตูล และ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ซึ่งในอดีต เคลื่อนย้าย “อยู่กินทำกิน” บนเทือกเขาบรรทัด ต่างได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานของรัฐ ได้รับสถานะเป็น พลเมืองไทยอย่างถูกต้อง มีบัตรประชาชนที่ออกโดยกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย มีสิทธิเข้าถึงสวัสดิการต่างๆของรัฐ ทั้งเรื่องสาธารณสุข และเรื่องการศึกษา จึงไม่แปลที่จะเห็น โรงเรียนหลายโรงในพื้นที่ จ.พัทลุง สตูล และ ตรัง มี”ลูกเงาะ” เป็นเด็กนักเรียนเช่นเดียวกับเด็กไทยทุกคน


และในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ที่มีกลุ่ม”ชาติพันธุ์” ที่เป็น “ซาไก” และ “มันนิ”อยู่อาศัยเป็นชุมชน ได้มีการ แต่งงาน อยู่กิน เป็นคู่ผัวตัวเมีย กับคนในพื้นราบ จนมีลูกด้วยกัน มีการ สร้างครอบครัว ที่อบอุ่น มีอาชีพที่ถาวร กลายเป็น คนไทยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งในอนาคต เราจะได้เห็น เยาวชน จาก ครอบครัวเหล่านี้ จนการศึกษาระดับสูง และกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย เช่นเดียวกับ เยาวชน จาก ชนเผ่าต่างๆ ที่เคยเป็นคน”ชายขอบ” ใน แนวตะเข็บชายแดนในภาคเหลือ ที่สวมเสื้อครุยถ่ายรูปในวันที่เข้ารับพระราชทานปริญญาอย่างสมเกียรติ
พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) กล่าวว่า การเข้ามาดูแลและยกระดับกลุ่ม”เปราะบาง” อย่าง”โอรังอัสรี”ที่บ้านนากอ ต.อัยเยอร์เวง เป็นการสนองแนวทางพระราชดำริฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีความห่วงใยในกลุ่มโอรังอัสรี ในพื้นที่ ซึ่ง ศอ.บต.ได้เข้าไปดูแล และจะขยายไปยัง กลุ่มอื่นๆ ให้ทั่วถึง


วันนี้ กลุ่ม “โอรังอัสรี” กลุ่มนี้ มีที่อยู่ที่เป็นหลักแหล่ง ได้รับการดูแลจากหน่วยงานในพื้นที่ในระดับหนึ่ง คนทั้ง 6 ครัวเรือน ส่วนใหญ่มาอาชีพรับจ้างคนในพื้นที่ เช่นทำสวน ถางป่า ตัดหญ้า และ กรีดยาง มีความสามารถในการ พูดภาษามาลายูถิ่น และภาษาไทย ในระดับที่สื่อสารกันได้
ซึ่ง ศอ.บต.ได้มีแนวทางในการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ โอรังอัสรี ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการ”นำร่อง” ที่ บ้านนากอ เป็นแห่งแรก ในระยะที่ 1 ให้มีการบริหารโดยชุมชน ให้ชุมชนเข้ามารับผิดชอบ โดยการสนับสนุนในการจัดสรรที่ดินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยทำกินของนิคมสร้างตนเอง อ.เบตง โดยการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน และให้พวกเขาเข้าถึงบริการของรัฐ เช่นเดียวกับคนไทยทุกคน ส่วนในระยะที่ 2 จะดุแลให้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร จัดการให้ดียิ่งขึ้น และระยะที่ 3 คือการดูแลสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้
และนี่คือการยืนยันถึงงานด้านการพัฒนาของ ศอ.บต. ที่จะ”ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยเฉพาะคนกลุ่ม”เปราะบาง” ที่เป็นเพียง”ชาติพันธุ์” ที่เป็น”ชนเผ่า” ในพื้นที่ โดยเฉพาะ “ชาติพันธุ์โอรังอัสรี” นั้น ถือเป็น ขนเผ่าแรกๆที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้มาดั่งเดิม ที่ควรได้รับการดูแลเช่นเดียวกับคนทุกคนที่อยู่ในแผ่นดินไทย และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างประโยชน์ให้เกิดความสันติสุขในพื้นที่

นายปรีชา สถิตเรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

Related posts