วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ จัดแสดงดนตรีล้านนาสู่สากล ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (ชมคลิป)

เชียงใหม่-วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ จัดแสดงดนตรีล้านนาสู่สากล ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=m0EFkuTdavU[/embedyt]

 

วันที่ 18 กันยายน 2563 เวลา13.00 น.ณ โรงละครวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดนตรีล้านนาสู่สากล (lanna International Music Festival)
ประกอบการแสดงละครเรื่อง”เจ้าหญิงแสนหวี”โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ “สร้างสรรค์” ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี เพลง การแสดงของนาฏศิลป์ล้านนา ตลอดจนเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏดุริยางคศิลป์ สู่ประชาชนและเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง

นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่าศิลปวัฒนธรรม คือความภาคภูมิใจของประชาชนทุกคน คือสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างสมมาให้จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเปรียบเสมือนทรัพย์สินที่มีคุณค่ายิ่ง
ที่จะต้องสร้างสรรค์และสืบต่อสิ่งที่เป็นมรดกเหล่านี้ให้กับคนรุ่นต่อๆไป อยากจะให้ซึมซับ หล่อหลอมความเข้าใจถึงความสวยงาม ความเป็นอัตลักษณ์ ของศิลปวัฒนธรรมไทยและ สามารถที่จะนำไปบอกเล่ากับคนทั้งหลายด้วยสื่อและภาษาความเข้าใจและวิธีการสมัยใหม่ได้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของทุกคนคือการสืบทอดมรดกตกทอดเหล่านี้ให้ดำรงคงอยู่สืบไป

ดร.กษมา ประสงค์เจริญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้อนุมัติโครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีหน่วยงานรับผิดชอบประกอบด้วย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ และได้มอบหมายให้วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ จัดกิจกรรมย่อยที่ 2.4 ดนตรีล้านนาสู่สากล (lanna International Music Festival) ประกอบการแสดงละครเรื่อง”เจ้าหญิงแสนหวี” กับ วงOrchestra ที่บรรเลงจาก วงดนตรีกองทัพบก กองทัพอากาศ และ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ”สร้างสรรค์” ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี เพลง การแสดงของนาฏศิลป์ล้านนา ตลอดจนเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏดุริยางคศิลป์ สู่ประชาชนและเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง

การแสดงละครเรื่อง”เจ้าหญิงแสนหวี” บทประพันธ์ของ พลตรีหลวงวิจิตร วาทการณ์ เป็นละครอิงประวัติศาสตร์ก่อนสมัยสุโขทัย เป็นเรื่องราวความรักและความขัดแย้งระหว่างรัฐไทย 2 รัฐในอดีต คือ แสนหวีและเขมรัฐ ซึ่งตามประวัติศาสตร์คือ ไทยร้อยและไทยใหญ่ เนื้อเรื่องเจ้าหญิงแสนหวีเริ่มต้นด้วยความรัก ความรื่นรมย์ซึ่งจากการผูกไมตรีของรัฐทั้ง 2 แต่ต่อมาเกิดความขุ่นข้องหมองใจกันขึ้นจึงลงเอยด้วยความโศกเศร้า แต่ในโศกนาฏกรรมในครั้งนี้กลับเป็นเครื่องเตือนใจให้ชาวไทยน้อยและไทยใหญ่มีความสัมพันธ์ที่แน่นเฟ้นมากขึ้น นอกจากนี้เนื้อเรื่องยังให้คติสอนใจถึงการกระทำตามใจตนเองของผู้นำโดยไม่คิดถึงผลร้ายที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศชาติและประชาชน ดังนั้นละครเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องราวที่ปลูกจิตสำนึกของความรักชาติดังคำที่ว่า” รักชาติยิ่งชีพ”

ทั้งนี้โครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จัดการแสดง วันที่ 18 กันยายน 2563 การแสดงวงดนตรี Lanna international music Festival ประกอบการแสดงละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวี สถานที่ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่วันที่ 19 กันยายน 2563 การแสดงมหกรรมกลองล้านนา และการบรรเลงวงOrchestra ดนตรีล้านนาสู่สากล ณ วัดศรีสุพรรณวันที่ 20 กันยายน 2564 การแสดงวงดนตรี Lanna international music Festival ประกอบการแสดงละครเรื่องเจ้าหญิงแสนหวี สถานที่ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา อนุสาวรีย์สามกษัตริย์
วันที่ 26 กันยายน 2563 การบรรเลงและแสดงคีตดุริยะนาฏการล้านนาโอเปร่า ทิพย์ดารา(หมายเลข4) ณ วัดศรีสุพรรณ
วันที่ 27 กันยายน 2564 การแสดงวงดนตรีล้านนา(การขับซอ ลิเกเด็ก การแสดงวงดนตรีเดอะสะล้อและการแสดงคณะศิลปินล้านนาวงการันตี ณ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา อนุสาวรีย์สามกษัตริย์

 

นภาพร ขัติยะ/เชียงใหม่

Related posts