เครือข่ายออทิสติก 15 จังหวัดร่วมประชุมโครงการ “ศึกษาวิจัยระบบบ้านพิทักษ์ออทิสติกในชุมชน”
เมื่อวันที่ 27ก.ย.2563ที่ผ่านมา เครือข่ายออทิสติก 15 จังหวัดที่ร่วมโครงการ “ศึกษาวิจัยระบบบ้านพิทักษ์ออทิสติกในชุมชน” ประชุมสรุปเพื่อเตรียมจัดทำข้อเสนอและแนวการจัดตั้ง “ระบบบ้านพิทักษ์ในชุมชน” และสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิศึม(ไทย) จะนำเสนอต่อ “คกก.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ” เพื่อมอบหมายกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ร่วมถึงเครือข่ายผู้ปกครองออทิสติก และชุมชน นำสู่การปฎิบัติที่เป็รูปธรรม
ข้อสรุปเบื้องต้น 4 รูปแบบ คือ ระบบ้านพทักษ์ออทิสติกในชุมชน บริหารจัดการโดย 1.ภาครัฐ จัดบริการตามความเหมาะสม 2. ภาครัฐ ร่วมกับภาคองค์กรเอกชน จัดบริการ 3.ภาคองค์กรเอกชน จัดบริการเอง 4.ภาคเอชนร่วมกับภาคชุมชน จัดบริการ. แต่ทั้ง 4 รูปแบบ รัฐต้องสนับสนุนงบประมาณตามสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้มีกฎหมายรองรับการทำงาน ได้แก่ มาตรา 20 วรรค 3
พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ “คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ มีสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีสถานสงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศยังและสวัสดิการให้แล้ว รัฐต้องจัดเงิน อุดหนุนให้แก่สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนดในระเบียบ
สาระสำคัญจากงานวิชาการและการถอดบทเรียน เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผน ระบบการจัดการ ระบบบริการ วิธีการจัดบริการ ที่ตอบสนอง”คุณค่าความเป็นมนุษย์”ตามเจตนามรณ์ของรัฐที่ก่อตั้ง “กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” และหลักการ Leave No One Behind ขององค์การสหประชาชาติ
ขอบคุณกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการฯ ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก ที่สนับสนุน ดำเนินการและร่วมในการวิจัย “งานวิจัย เป็นชุดความรู้ในการำหนดแนวทางการจัดการ” และการตัดสินใจ มติ คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันในฐานะ”หุ้นส่วนการพัฒนา” เราคิดเรื่องนี้ 5 ปี หวังว่าครั้งนี้ คงสำเร็จ.. .