บัณฑิตภาคใต้ สู้ภัยโควิด ม.สงขลานครินทร์ สรุปบทบาทการทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม

บัณฑิตภาคใต้ สู้ภัยโควิด ม.สงขลานครินทร์ สรุปบทบาทการทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคม

 

 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สรุปการทำงานของบัณฑิตอาสา ในโครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิดในการจัดทำข้อมูล ประสานงาน จัดทำแผนงาน ถ่ายทอดเทคโนโลยี  ประเด็น ผู้สูงอายุ   เด็กและเยาวชน  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การท่องเที่ยวชุมชน เศรษฐกิจชุมชน  โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

โดยยึดหลักกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน องค์กรพัฒนา ในการฟื้นฟู สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน พร้อมรับเกียรติบัตร จากผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 25 เดือนกันยายน  2563 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผศ.สุพจน์ โกวิทยา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ กล่าวว่า ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ผนึกกำลัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้ง 5 วิทยาเขต ดำเนินโครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด รวม 1,000 คน ระยะที่ 1 จำนวน 400 คน ปฏิบัติงานเป็นเวลา 4 เดือน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน และระยะที่สองจำนวน 400 คน ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 3 เดือนระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน กระจายการทำงานใน 160 กว่าตำบล 9 จังหวัดภาคใต้

และจัดทำข้อมูลอีกจำนวน 200 คน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมีเจ้าหน้าที่สำรวจ โดยปฏิบัติงานใน 40 ตำบล 7 จังหวัดภาคใต้ รวมเป็น 1,000 คน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) โดยมีค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท มีบัณฑิตจาก 20 มหาวิทยาลัยมาร่วมโครงการ ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การสร้างให้บัณฑิตและบุคลากรของมหาลัยสงขลานครินทร์มีจิตอาสาที่เข้มแข็ง เป็นการสร้างคุณค่าให้กับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

ดร.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า บัณฑิตที่ได้กลับไปดูในชุมชนของตัวเอง ได้รู้จักชุมชนของตัวเอง รู้ว่าชุมชนนั้นมีลักษณะอย่างไร มีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร ก็ถือว่าบัณฑิตได้มีการเรียนรู้นอกห้องเรียน

รศ.ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี กล่าวว่าโครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

ได้มีการลงดำเนินการลงพื้นที่จำนวน 20 พื้นที่โดยมีจิตอาสาเป็นจำนวน 100 คน ไปประสานงานกับพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น อบต. เทศบาล องค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ  มิติที่สำคัญไม่ว่าเรื่องของผู้สูงวัย หรือในเรื่องของขยะและเรื่องของการท่องเที่ยว ด้านท่องเที่ยวเชิงชุมชนหรือท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เรามีบุคลากร จำนวน 43 คน เป็นที่ปรึกษา ได้รับความสำเร็จได้ ข้อมูลตั้งต้นในการพัฒนาพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในมิติต่างๆเพื่อให้โครงการเกิดผลอย่างจริงจังและเกิดความยั่งยืน


รศ.ดร.อุดมผล พืชน์ไพบูลย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตตรัง กล่าวว่า ที่วิทยาเขตตรัง มีส่วนร่วมเริ่มจากการที่เราได้พูดคุยกับทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นว่า เขามีปัญหาอะไรบ้าง เรามีบัณฑิตอาสาเข้าร่วมทั้งหมด 40 คน แบ่งเป็น 8 ทีม งานหลักๆเป็น การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เรื่องการลงทุนเรื่องของแผนพัฒนา และ เรื่องท่องเที่ยวกับเศรษฐกิจชุมชนซึ่งเป็นนโยบายหลักของทางจังหวัด คาดหวังว่าจะมีแผนที่จะดำเนินการต่อเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ


รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต ส่วนของวิทยาเขตภูเก็ต   มีการจ้างงานทั้งสองรอบรวมกันมีจำนวน 57 คนเป็นบัณฑิตรอบแรกเรามีการจ้างงานไป30 คน รอบที่2 ก็ 20 คน   เราได้มีการกระจายบัณฑิตอาสาเหล่านี้ลงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา โครงการบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิดเป็นโครงการที่ดีอย่างยิ่ง ขอขอบคุณบัณฑิตทุกคน

ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมจิตสาธารณะและการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่   กล่าวว่า ม.อ.ดำเนินโครงการบัณฑิตอาสาทำงานมา 15 ปี เป้าหมายสำคัญ คือการสนับสนุนทักษะสำคัญของบัณฑิต เพื่อที่จะให้ไปส่งเสริมพัฒนาชุมชนตามเป้าหมาย ร่วมกับชุมชนในการวางแผนงาน โดยมีทีมงานของมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนอย่างเต็มที่

นายอูมาร กาหนุง บัณฑิตอาสา อบต.บ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล กล่าวว่า ได้ทำงานร่วมกับ อบต.บ้านควน และผู้นำชุมชน อสม.ได้เรียนรู้ ได้กำลังใจในการทำงาน ได้เข้าใจในความต้องการของชุมชนที่แท้จริงว่าชุมชนต้องการอะไร เพื่อไปตอบสนองชุมชน และได้นำความรู้ต่างๆเกี่ยวกับประเพณีต่างๆที่ยังคงมีอยู่ได้ไปแพร่ให้กับผู้อื่นได้รับรู้ รวมถึงวิธีการทำงาน

ร้อยตำรวจโท วิจิตร ไชยยาน ประธานชุมชนบ้านในไร่ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กล่าวว่าบัณฑิตอาสาก็ได้เข้ามาช่วยการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในเรื่องของการเกษตรและได้มีการนำผู้ซื้อมาช่วยซื้อผลผลิตทางการเกษตรของชาวบ้านในหมู่บ้านชาวบ้าน ไม่ต้องตั้งวางขายกันเองบนท้องถนน ขอบคุณที่ได้ส่งบัณฑิตอาสามาช่วยเหลือชุมชน

 

Related posts