นิด้าโพล’ เปิดผลสำรวจเกษตรกร 83% พอใจผลงานกระทรวงเกษตรฯ

‘นิด้าโพล’ เปิดผลสำรวจเกษตรกร 83% พอใจผลงานกระทรวงเกษตรฯ “ชาวสวนยาง” 81% ปลื้มนโยบายประกันรายได้และการแก้ปัญหาน้ำยางสด

 

 

รายงานข่าวระบุว่าศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นเกษตรกร เรื่อง “การดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ซึ่งสอบถามความพึงพอใจการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วงเดือน ธ.ค.2563 – ม.ค.2564 จากเกษตรกรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รวม 1,225 หน่วยตัวอย่าง
ครอบคลุมเกษตรกรสวนยางพารา 421 หน่วยตัวอย่าง เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร 400 หน่วยตัวอย่าง และเกษตรกรทั่วไป 404 หน่วยตัวอย่าง
เมื่อถามถึงภาพรวมความพึงพอใจเกษตรกรต่อการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 29.06% ค่อนข้างพอใจ 54.20% (รวมเป็น 83.26%) และไม่ค่อยพอใจ 8.49% ไม่พอใจเลย 4.49% (รวมเป็น 12.98%) และไม่รู้สึกอะไร 3.76%
และเมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อผลงานและการทำงานของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 28.57% ค่อนข้างพอใจ 50.69% (รวมเป็น 79.26%) และไม่ค่อยพอใจ 6.78% ไม่พอใจเลย 2.61% (รวมเป็น 9.39%) และไม่รู้สึกอะไร 11.35%

 


เมื่อพิจารณาตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรสวนยางพาราเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 12.59% ค่อนข้างพอใจ 68.89% (รวมเป็น 81.48%) และไม่ค่อยพอใจ 14.01% ไม่พอใจเลย 3.56% (รวมเป็น 17.57%) ส่วนตัวอย่างที่ไม่รู้สึกอะไร 0.95%

สำหรับความพึงพอใจต่อผลงานและการทำงานของนายเฉลิมชัย พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 11.40% ค่อนข้างพอใจ 71.50% (รวมเป็น 82.90%) และไม่ค่อยพอใจ 11.40% ไม่พอใจเลย 3.09% (รวมเป็น 14.49%) และไม่รู้สึกอะไร 2.61%
เมื่อถามตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรสวนยางพาราเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหาน้ำยางสดของกระทรวงเกษตรฯ โดยนายเฉลิมชัย ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 14.49% ค่อนข้างพอใจ 62.71% (รวมเป็น 77.20%) และไม่ค่อยพอใจ 14.49% ไม่พอใจเลย 5.94% (รวมเป็น 20.43%) และไม่รู้สึกอะไร 2.37%


เมื่อถามถึงความพึงพอใจกับการแก้ไขปัญหาราคายางแผ่นดิบของกระทรวงเกษตรฯ โดยนายเฉลิมชัย ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 11.40% ค่อนข้างพอใจ 64.13% (รวมเป็น 75.53%) และไม่ค่อยพอใจ 15.44% ไม่พอใจเลย 5.94% (รวมเป็น 21.38%) และไม่รู้สึกอะไร 3.09%
สำหรับความพึงพอใจต่อโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 24.47% ค่อนข้างพอใจ 54.63% (รวมเป็น 79.10%) และไม่ค่อยพอใจ 13.30% ไม่พอใจเลย 4.99% (รวมเป็น 18.29%) และไม่รู้สึกอะไร 2.61%
ทั้งนี้ตัวอย่างต้องการให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการช่วยเหลือในการประกันราคารับซื้อน้ำยางสดหรือยางแผ่นดิบในราคาที่คงที่ มาตรการกระตุ้นราคารับซื้อน้ำยางสดและยางแผ่นดิบให้มีราคาสูงขึ้น และต้องการให้ช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยางเมื่อราคายางพาราตกต่ำ เป็นต้น
สำหรับผลงานและการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ตัวอย่างพึงพอใจคือการประกันรายได้เกษตรกร เงินเยียวยาเกษตรกรชาวสาวนยางพารา การรับประกันราคายางพารา และการพักชำระหนี้เงินกู้ยืมเกษตรกร เป็นต้น

เมื่อพิจารณาตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรฯ พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 45.75% ค่อนข้างพอใจ 43.25% (รวมเป็น 89.00%) และไม่ค่อยพอใจ 3.75% ไม่พอใจเลย 1.00% (รวมเป็น 4.75%) และไม่รู้สึกอะไร 6.25%
สำหรับความพึงพอใจต่อผลงานและการทำงานของนายเฉลิมชัย พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 45.50% ค่อนข้างพอใจ 35.50% (รวมเป็น 81.00%) และไม่ค่อยพอใจ 4.75% ไม่พอใจเลย 0.75% (รวมเป็น 5.50%) และไม่รู้สึกอะไร 13.50%
เมื่อถามตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเกี่ยวกับความกังวลที่จะต้องเผชิญกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF (African Swine Fever) ในรอบปี 2563 พบว่า ตัวอย่างกังวลใจมาก33.25% ค่อนข้างกังวลใจ 28.50% (รวมเป็น 61.75%) โดยให้เหตุผลว่า กังวลว่าโรคจะมาระบาดในพื้นที่ ทำให้สุกรที่เลี้ยงไว้ติดโรคระบาดและตาย ทำให้ขาดทุน ขาดรายได้และเป็นหนี้ ขณะที่บางส่วนให้เหตุผลว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็น โรคอันตราย มาตรการป้องกันโรคยังทำได้ไม่เต็มที่
ในขณะที่ตัวอย่างที่ไม่ค่อยกังวลใจ 16.75% ไม่กังวลใจเลย 16.50% (รวมเป็น 33.25%) โดยให้เหตุผลว่าไม่พบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพื้นที่ ทั้งมีระบบการจัดการที่ดีในการป้องกันโรคตามมาตรการป้องกันโรคของกรมปศุสัตว์
ขณะที่บางส่วนให้เหตุผลว่า พื้นที่เลี้ยงสุกรตั้งอยู่ห่างไกลกับพื้นที่พบการระบาด อีกทั้งการเลี้ยงสุกรเป็นแบบฟาร์มปิด มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ส่วนตัวอย่างที่ไม่รู้จักโรค ASF 5.00% ทั้งนี้ตัวอย่าง 56.00% ทราบว่าปี 2563 ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ป้องกันการระบาดโรคนี้
สำหรับความพึงพอใจต่อมาตรการของกระทรวงเกษตรฯ เกี่ยวกับการป้องกันการระบาดของโรค ASF พบว่า ตัวอย่างพอใจมาก 49.25% ค่อนข้างพอใจ 39.50% (รวมเป็น 88.75%) และไม่ค่อยพอใจ 5.00% ไม่พอใจเลย 0.50% (รวมเป็น 5.50%) และไม่รู้สึกอะไร 5.75%
นอกจากนี้ตัวอย่างต้องการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการช่วยเหลือ ในเรื่องการประกันราคาสุกร สนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ และยาฆ่าเชื้อ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคของสุกรและวิธีการป้องกัน และต้องการความช่วยเหลือเรื่องเงินชดเชยหรือเงินเยียวยาเกษตรกร เป็นต้น
สำหรับผลงานและการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ตัวอย่างพึงพอใจคือเรื่องราคาซื้อขายเนื้อสุกรดีขึ้น และการควบคุมโรคของปศุสัตว์ เป็นต้น

Related posts