สนช. จัดหลักสูตรฝึกอบรมเข้มการจัดการนวัตกรรม พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม 5 จังหวัดชายแดนใต้ Deep South Innovation Business Coaching Program 2020

นราธิวาส-สนช. จัดหลักสูตรฝึกอบรมเข้มการจัดการนวัตกรรม พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม 5 จังหวัดชายแดนใต้ Deep South Innovation Business Coaching Program 2020

 


ณ ห้องกลางชล ชั้น 8 โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมสรุปโครงการ หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรม สำหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ Deep South Innovation Business Coaching Program 2020
ภายในงานมีการจัดโต๊ะแถลงข่าวของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)ร่วมกับจังหวัดปัตตานี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) เทศบาลเมืองปัตตานี ธนาคาร SME BANK และ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี ได้กล่าวถึง ทิศทางความร่วมมือและการสนับสนุนการขับเคลื่อนนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ซึ่งทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ (สนช.) นั้นได้มีการให้ทุนสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 2 ลักษณะ คือทุนสนับสนุนด้านนวัตกรรมทุน Open Innovation ซึ่งเป็นทุนเริ่มต้นให้กับผู้ประกอบการทั้ง Smart SMEs และ Startup มูลค่าสูงสุดสูงถึง 1,500,000 บาท


และทุนนวัตกรรมมุ่งเป้า (Thematic Innovation) เป็นทุนสำหรับพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรมนำไปสู่ การปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ธุรกิจนวัตกรรมดูแลสุขภาพ,ธุรกิจอาหารและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และธุรกิจนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์

การดำเนินงานดังกล่าวเป็นผลจากความร่วมมือระหว่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( สนช.), ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ นับตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยการจัดกิจกรรมในปี 2563 ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ความสามารถด้านธุรกิจนวัตกรรม จนกระทั่งสามารถพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการนวัตกรรมและได้รับการสนับสนุนจาก สนช. เป็นจำนวนทั้งสิ้น 21 โครงการ ทุนหนุนเสริมกว่า30 ล้านบาท


ทั้งนี้ สำหรับการจัดกิจกรรม “หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรมสำหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้” ในปีนี้ สนช. ยังคงดำเนินกิจกรรมการอบรม 2 ส่วน ได้แก่ กิจกรรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (3 Days Smart SMEs/Startup) ที่เน้นให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง SMEs และ Startup เรียนรู้เครื่องมือวิเคราะห์โครงสร้างทางธุรกิจแบบย่อ พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนา นวัตกรรมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่ต้นปี โดยในปีนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมจำนวนมากกว่า 200 คน และ
และ กิจกรรมหลักสูตรสร้างความสามารถทางนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการใหม่ เน้นให้ความรู้แก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากกิจกรรม 3 Days Smart SMEs/Startup ให้สามารถนำไปใช้ได้จริงกับธุรกิจของตนเอง

รวมไปถึงการวางแผนพัฒนาข้อเสนอโครงการ และนำเข้าไปสู่ขั้นตอนในการดำเนินการขอทุนสนับสนุนโครงการจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติต่อไป ซึ่งมีผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาทั้งสิ้น 34 ธุรกิจ
ในปีนี้มีผู้ประกอบการที่ได้รับทุนไปแล้วทั้งสิ้น 3 ธุรกิจ คือ โครงการพัฒนากระบวนการดองไข่เค็มด้วยเครื่องดองไข่เค็มความดันสูง, โครงการท่องเที่ยวเสมือนจริง Traveler’s Souvenir และโครงการกรวยยางธรรมชาติอุดรูระเบิดเพื่อการเหมืองแร่ ส่วนธุรกิจอื่น ๆ ก็ยังคงมีการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อความพร้อมสำหรับขอรับทุนในปีต่อไป

นายไกรศร วิศิษฏ์วงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ปัตตานีได้ปูพื้นเตรียมในเรื่องนวัตกรรมไว้ก่อนแล้ว ซึ่งขณะนี้ได้อยู้ในขั้นตอนของการจัดการนวัตกรรมแลเที่สำคัญที่สุดเราได้จัดเตรียมเรื่องคน ที่เป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ด้านสตาร์ตอัพ วันนี้เราเกิดเป็นหลักสูตรการจัดการนวัตกรรม และจะช่วยตอบโจทย์ ด้านต้นทุน เพิ่มผลผลิตรายได้ ช่วยส่งเสริม และสร้างความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอีกด้วยครับ

ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ กล่าวว่า ทางส่วนของปีหน้านี้ทางแผนส่วนของสำนักงานงบประมาณแห่งชาตินี้ จัดหลักสูตรนี้ให้มีอยู่และจะจัดการให้เข้มข้นกว่าเดิมมีการโพรฟ โปรแกรมเป็นการตาอยอดธุรกิจ ให้กับผู้ประกอบการที่เคยรับทุน หรือรายใหม่ที่กำลังมองหาทางเพื่อที่จะคอนเน้คเข้ากับลูกค้ารายใหม่ หรือแหล่งทุนรายอื่นๆเพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน และเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ครับ
ส่วนทางด้านผู้ประกอบการที่เดือดร้อนในช่วงของโควิดที่ผ่านมา ในส่วนของงบประมาณปี64 นี้ได้ร่วมกับธนาคารออมสิน ในการที่จะเปิดสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการประสบปัญหาส่วนนี้ขึ้นมา คิดดอกเบี้ยพิเศษ 2 % เพื่อช่วยเหลือทางด้านสภาพคล่องต่างๆ จะช่วยผู้ประกอบการได้กู้เงินส่วนนี้ใช้หลักทรัพย์เพียง30% เท่านั้นสำหรับผู้ที่สนใจให้รีบติดต่อไปทางสำนักงานงบประมาณแห่งชาติได้เลยครับ

คุณเกดกนก แก้วกระจัง ceo บ.เสกตเชอร สยามที่รัก กล่าวว่า ได้ออกแบบนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยว เมื่อก่อนนี้นทท.เมื่อมาเที่ยวแล้วตะเก็บภาพถ่ายและเก็บของที่ระลึกต่างๆเพื่อเป็นความทรงจำ และจะเป็นสินค้าซ้ำๆ ภาพถ่ายไม่นานก็ลบทิ้งไป เราจึงคิดค้นนวัตกรรมขึ้นมามเป็นแอปลิเคชั่นเล่าเรื่แงของการท่องเที่ยว และมีภาพ3มิติ วิ่งออกมา ปัจตจุบันเราสามารถแสกนบนตัวเสื้อผ้า กระเป๋าผ้า หรือโปรดักส์อื่นๆ และมาถึงจุดๆหนึ่งแสกนแล้วมีทรีดีสามมิติวิ่งออกมา เราออกแบบมากว่า2ปี เราเห็นว่าจะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวได้ต่อยอดและคิดต่อเลยมีการทำเป็นเกมสเออารขึ้นมาม ไปไล่เก็บเออารต่างๆ ดูสตอรี่ย์ืทั้งหมด แล้วจัดของขวัญเป็นกิฟวอชเชอร์ ขึ้นมาให้นทท.ได้รู้จักเรียนรู้ตั้งแต่อยู่บนเครื่องได้เลยค่ะ และต่อไปเราจะแสดงตามแผนที่ให้ลูกค้าได้รู้จักร้านค้า ชุมชน ต ให้เค้าได้มีความสุขทั้งทางออนไลน์ และทางออฟไลน์ อีกทั้งสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศอีกด้วย

ข่าว.แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

Related posts