นราธิวาส-สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล/เทศบาล อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

นราธิวาส-สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล/เทศบาล อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

 

22 กันยายน 2563 นายอับดุลนัสเซอร์ หะมิ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล/เทศบาล อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อให้คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนฯ มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิต และสามารถพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้ โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทบาทหน้าที่ของคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล/เทศบาล การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี /

การค้นหาศักยภาพของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีด้วยเครื่องมือ SWOT /การเขียนโครงการและการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี /การจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยจะทำให้คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล/เทศบาล มีศักยภาพสามารถบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


รัฐบาลมีนโยบายจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ภายใต้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ต่อมาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเมื่อ วันที่ 29 กรกฎาคม 2557 ให้โอนย้ายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มาอยู่กรมการพัฒนาชุมชน และนายกรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที 17 ธันวาคม 2557 ให้กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการขอจัดตั้งกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เดียวกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พร้อมเสนอขอ จัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559


คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558 ขึ้นในกรมการพัฒนาชุมชน โดยกรมฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 100 ล้านบาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน) และต่อมาคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2559 ให้ควบรวมกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี เข้ากับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกรมการพัฒนาชุมชน โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ซึ่งทำให้การบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมการพัฒนาชุมชน

กรมการพัฒนาชุมชนได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 และข้อบังคับคณะกรรมการ บริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ว่าด้วยการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ. 2559

วัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
(1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำในการสร้างโอกาสให้สตรีเข้าถึงแหล่ง เงินทุนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือเสริมสร้างความเข้มแข็ง ทางด้านเศรษฐกิจให้แก่สตรีและองค์กรของสตรี
(2) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการส่งเสริมบทบาทและพัฒนาศักยภาพสตรีและ เครือข่ายสตรี ในการเฝ้าระวังดูแลและแก้ไขปัญหาของสตรี การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของสตรี นำไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ หรือสวัสดิการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของสตรี และผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ในสังคม
(3) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมในการพัฒนา บทบาทสตรี การสร้างภาวะผู้นำ การพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้าน สังคมให้แก่สตรีและองค์กรของสตรี
(4) เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนโครงการอื่น ๆ ที่เป็นการแก้ไขปัญหาและ พัฒนาสตรีตามที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร

กลไกการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
(1) คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (คกส.) 1 คณะ
(2) คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีกรุงเทพมหานคร (อกส.กทม.) 1 คณะ
(3) คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัด (อกส.จ.) 76 คณะ
(4) คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและติดตามการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีอำเภอ (อกส.อ.) 878 คณะ
(5) คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเขต (คณะทำงานขับเคลื่อนฯเขต) 50 เขต
(6) คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด/กรุงเทพมหานคร (คณะทำงานขับเคลื่อนฯจังหวัด/กรุงเทพมหานคร) 77 คณะ
(7) คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบล/เทศบาล (ตามเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) (คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ตำบล/เทศบาล)
(8) อาสาสมัครผู้ประสานงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีหมู่บ้าน/ชุมชน (ตามเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ซึ่งเป็นผู้แทนสมาชิกในหมู่บ้าน/ชุมชน ทุกแห่งทั่วประเทศ (อาสาสมัครกองทุนฯ)

บทบาทหน้าที่ของคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเขต
(1) ตรวจสอบความถูกต้องของโครงการของสมาชิกที่ยื่นขอกู้ยืมเงิน เบื้องต้น
(2) ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับสมาชิกและประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุน
(3) ให้คำแนะนำและเป็นที่ปรึกษาของสมาชิก
(4) ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนและสมาชิกในพื้นที่

ในปัจจุบันพลังสตรีมีบทบาทด้านต่างๆมากยิ่งขึ้นในสังคมไทย อันจะเห็นได้จากในหลายคราวพลังสตรีเข้าไปมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างเข้มแข็ง จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและผลสำเร็จในทางที่ดีขึ้น ดังนั้น การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้บรรลุตามวัตถุประสงค์

 

แวดาโอ๊ะ​หะไร​ ภาพ/ข่าว
จ.นราธิวาส

Related posts