โรคใบไม้ร่วงมาแล้ว รอบ 2 กยท. ประชุมหารือโรคใบไม้ร่วงระบาดในพื้นที่นราธิวาสเสียหายกว่า 7 แสนกว่าไร่

นราธิวาส-โรคใบไม้ร่วงมาแล้ว รอบ 2 กยท. ประชุมหารือโรคใบไม้ร่วงระบาดในพื้นที่นราธิวาสเสียหายกว่า 7 แสนกว่าไร่  พร้อมออกสำรวจและติดตามพื้นที่ระบาดของโรคใบร่วงยางพาราชนิดใหม่ อำเภอจะแนะ และอำเภอสุคิริน

 


ณ การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดนราธิวาส นายสุทัศน์ ต่างวิริยะกุล รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยด้านธุรกิจและปฎิบัติการ โดยมี นายสุรชัย บุญวรรโณ ผอ.เขตภาคใต้ตอนล่าง ดร.กฤษา สังข์ลิงค์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง นางฐิตาภรณ์ ภูมิไชย์ หัวหน้ากองบริหารงานวิจัย นายกิตติชัย เหลี่ยมวานิช หัวหน้ากองส่งเสริมเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร นายพนัสพล โกสิยาภรณ์ ผอ.กยท.จ.นราธิวาส ผอ.สถาบันวิจัยยางสุราษฎร์ธานี ผอ.สถาบันวิจัยยางสงขลา

นายแวฮามะประธานสภาเกษตรจังหวัดนราธิวาส และเครือข่ายสถาบันเกษตรชาวสวนยางระดับจังหวัด เข้าร่วมครั้งนี้
เนื่องจาก ที่ผ่านมาเกิดโรคใบร่วงชนิดใหม่พบระบาด ทำให้ใบยางร่วงรุนแรงเป็นพื้นที่กว้างขวางครั้งแรกในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2560 และจากนั้นจนถึงปี 2562 เพียง 2 ปี โรคได้แพร่ลุกลามอย่างรวดเร็วเข้าสู่ประเทศผู้ปลูกยางใกล้เคียงทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย และไทย

นายสุทัศน์ ต่างวิริยะกุล รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยด้านธุรกิจและปฎิบัติการ กล่าวว่า ขณะนี้เกิดการระบาดของโรคใบร่วงในยางพาราระบาดหนักบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี และได้ลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนพร้อมปรึกษาหารือแนวทางช่วยเหลือให้เร็วที่สุด

การระบาดในยางพาราทุกสายพันธุ์ และยากต่อการควบคุมป้องกัน เพราะเชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดมากับลมและฝน มีการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ข้างเคียงได้ง่าย โดยทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้เกษตรกรหยุดกรีดยางต้นที่เป็นโรคทันทีเพื่อรักษาไม่ให้ต้นยางพาราโทรม และสำรวจพืชชนิดอื่นที่อาจจะเป็นพืชอาศัยของเชื้อราชนิดนี้ รวบรวมข้อมูล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

นางนภาพร มหาวงศ์ (เกษตรกรที่เสียหาย)เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว่า ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนในจังหวัดนราธิวาสฝนทั้งปีทำให้ผลผลิตน้ำยางลดลง 30-50% ทำให้รายได้ไม่เพียงพอ จนหาวิธีตาม กยท.ในพื้นที่แนะนำเกษตรกรหยุดกรีดยางทันที เพื่อรักษาไม่ให้ต้นยางพาราโทรมและใส่ปุ๋ย ดูแลสม่ำเสมอเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ต้นยาง จะทำให้ต้นยางสามารถสร้างใบใหม่ออกมาทดแทนใบยางที่ร่วงได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้สภาพการแพร่ระบาดยังหนักกว่าปีที่ผ่านมา แต่มักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูงในระยะใบแก่ แพร่ระบาดโดยลมและช่วงฝน ผลกระทบทำให้ใบแก่ร่วงรุนแรงในยางพาราทุกพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนยางใหญ่ โรคทำให้ทรงพุ่มใบเหลือง และใบร่วงอย่างรุนแรง ถึงร่วงหมดทั้งต้นเป็นพื้นที่กว้างขวาง ผลผลิตลดลงมากกว่า 30-50% เมื่อใบยางร่วง ต้นยางจะผลิใบใหม่ เมื่อใบยางแก่เต็มที่ หากมีสภาพอากาศที่เหมาะสม เชื้อราสามารถเข้าทำลายซ้ำทำให้ใบยางร่วงได้อีก

ในรอบปีอาจทำให้ใบยางแก่ร่วงซ้ำถึงทั้งปี จึงมีผลต่อผลผลิตอย่างรุนแรง และอาจทำให้กิ่งเล็ก ๆ ตายแห้งได้ โรคใบร่วงเกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. หรืออาจมีเชื้ออื่นร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งต้องพิสูจน์โรคและกำลังวิจัยให้ผลออกมาเร็วที่สุดเพื่อที่ช่วยเหลือเกษตรกรทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อไป
สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่เจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคนี้ ติดต่อขอคำปรึกษาและข้อแนะนำได้จาก กยท. ในพื้นที่ใกล้บ้าน

 

ข่าว//////แวดาโอะ หะไร ผู้สื่อข่าวนราธิวาส

Related posts