เชียงราย-คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดเชียงราย ประชุมร่วมกับ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา

เชียงราย-คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดเชียงราย ประชุมร่วมกับ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา

วันที่ 6 พฤศจิกายน2563 6พ.ย.2563 ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดเชียงราย ประชุมร่วมกับ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ วุฒิสภา โดย นายวุฒิชัย เสาวโกมุท รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย สว.มณเฑียร บุญตัน และน.พ.อำพล จินดาวัฒนะ พร้อมคณะที่ปรึกษา อนุกรรมการจังหวัดและอนุกรรมาธิการ ร่วมประชุมระดมความคิดเห็นต่อการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการ
ผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดเชียงราย นางสุปราณี สมนา ผู้แทน พมจ.จังหวัดเชียงราย ได้รายงานสถิติคนพิการที่มีบัตรคนพิการในจังหวัดเชียงราย จำนวนรวม 42,305คน และยังมีคนพิการที่ไม่ประสงค์ใช้สิทธิอีกจำนวนหนึ่ง
การทำงานในรูปแบบภาคีเครือข่าย มีศูนย์บริการทั่วไป 71 แห่ง ใน15 อำเภอ มีผู้ช่วยคนพิการ 19 คน มีล่ามภาษามือ 2 คน มีองค์กรครบประเภทความพิการครบ 7ประเภท มี อพมก 262 คนด้านการจ้างงานมีสถานประกอบการ 59 แห่งที่จ้างงานคนพิการตามมาตรา 33-35 (จ้างงานตรง 47 แห่ง ส่งเงิน 7 แห่ง จ้างงานทางอ้อม 2 แห่ง) จังหวัดมีแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการฯฉบับที่ 3 จัดประชุมอนุกรรมการจังหวัด 6 ครั้ง อนุมัติโครงการจากกองทุน 62โครงการ วงเงิน กว่า 13 ล้านบาท อนุมัติเงินกู้ 194 ราย วงเงินประมาณ 11ล้านบาท มีโครงการปรับสภาพบ้านคนพิการ 123 ราย วงเงิน 2.29 ล้านบาท และมีการช่วยเหลือคนพิการในภาวะภัยพิบัติต่างๆ ทั้งในช่วงสถานะการณ์ โควิดและภัยพิบัติอื่น
การจัดศูนย์บริการในจังหวัดเชียงราย ตามนโยบาย”คนพิการเข้าถึงสิทธิ ดำเนินชีวิตอิสระ ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างยั่งยืน” มีศูนย์บริการคนพิการทั่วไปมีการจัดโครงการตามแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับคนพิการในด้านต่างๆที่คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ประกาศ และดำเนินการตามยุทธศาสตร์ EQUAL และเป้าหมาย SDGs 7 ข้อ โดยเฉพาะการขจัดความยากจน การศึกษาที่เท่าเทียม การจ้างงาน มีภาครัฐจ้างงานคนพิการ 13 คน ใน137หน่วยงาน การลดความเหลื่อมล้ำ มีการสงเคราะห์คนพิการ151 ราย ทั้งนี้โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนด้านคนพิการต่างๆ ในจังหวัด
การบูรณาการฐานข้อมูลด้านคนพิการ ออกแบบจากส่วนกลาง คือกรม พก. เช่นงานออกบัตร ระบบผลการจ้างงาน ระบบโครงการ ระบบล่ามภาษามือ ระบบงบประมาณ เป็นต้น จึงมีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเฉพาะเรื่องการทำบัตรคนพิการกับกรมการปกครอง และประสานข้อมูลกับองค์กรคนพิการในพื้นที่ งานด้านคนพิการที่ไร้สถานะบุคคล ยังมีข้อจำกัด เฉพาะคนพิการที่มีสัญชาติไทย และยังช่วยเหลือกลุ่มที่เขาไม่ถึงสิทธิตามหลักสิทธิมนุษย์ชน อย่างไรก็ตามมีข้อเสนอเรื่องการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การดำเนินงานศูนย์บริการ พบประเด็น เรื่องการหาผู้ค้ำประกันเงินกู้คนพิการ การเดินทางมารับบริการที่จังหวัด การติดตามลูกหนี้กองทุน ด้านการจ้างงานคนพิการ ไม่ต้องกับความต้องการนายจ้าง ส่วนศูนย์บริการทั่วไปของ อปท ยังไม่ครบทุกพื้นที่ ปัจจุบันมี 71 แห่งการรับรองความพิการจากแพทย์ ไม่มีการจัดทำรายละเอียดที่ชัดเจน ทำให้การลงทะเบียนไม่ครบถ้วน ปี2564 เตรียมจัดประชุมร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการอำนวยความสะดวกคนพิการ ดังนั้น พมจ จึงร่วมกับ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ เป็นศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ที่ออกบัตรคนพิการแบบเบ็ดเสร็จที่โรงพยาบาล โดยให้นักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาล เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ได้นำเสนอข้อสังเกต เรื่อง การออกเอกสารรับรองคสามพิการจากแพทย์และระบบบริการแบบ ONE STOP SERVICE ของจังหวัดเชียงราย น่าจะขยายผล ไปถึงระดับ รพสต.ได้ด้วย และปรับรูปแบบฐานข้อมูลที่มีข้อกระทง(Field)ที่ระบุให้ชัดเจน และแนะนำให้ “กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ” สนับสนุนเรื่องการค้นหาคนพิการเพื่อการเข้าถึงและส่งเสริมสุขภาพในระดับตำบล โดยร่วมมือกับชมรมแต่ละประเภทความพิการในจังหวัด
ส่วนประเด็นการศึกษา เนื่องจากมี”คณะอนุกรรมการการศึกษาคนพิการประจำจังหวัด” ควรจะเชื่อมฐานขอมูลด้านการศึกษาคนพิการ ที่ครบถ้วนทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย และฐานข้อมูลคนพิการที่ไม่ได้เรียน เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือคนพิการต่อไป
สว.มณเฑียร บุญตัน เปิดประเด็นเรื่องการขอรับการสนับสนุนโครงการ การทำฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างองค์กรคนพิการ ศูนย์บริการฯ และสำนักงาน พมจ. ที่ควรทำงานแบบ”หุ้นส่วนการพัฒนาและเกื้อกูลกัน หรือการมีระบบ Coach งานร่วมกัน
นายสุชาติโอวาทวรรณสกุล เสนอให้ แจงแจกฐานข้อมูลตามรายประเภทและตามบริการที่ได้รับให้เป็นปัจจุบัน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลสู่คนพิการในชุมชน รวมถึงการสนับสนุนการจ้างงานคนพิการโดยหน่วยงานภาครัฐที่ควรให้เพิ่มมากขึ้น
นายเอกกมล แพทยานันท์ ขอให้คณะอนุกรรมการคนพิการจังหวัด เน้น การพิจารณาอนุมัติโครงการหรือเงินกู้แก่คนพิการหรือองค์กรคนพิการ ขอให้ยึดหลักเกณฑ์กองทุนในการพิจารณาเงินกู้ยืมหรือเงินสนับสนุนโครงการ จ่ายตามเกณฑ์ ไม่ควรปรับลดต่ำกว่าเกณฑ์ รวมถึงการพิจารณาอนุมัติที่ต่อเนื่องไม่ล่าช้า
นางวันทนีย์ พันธชาติ. แนะนำเรื่อง Accessibility ด้านกายภาพ ด้านอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการและด้านข้อมูลข่าวสารของคนพิการ ว่าจังหวัดมีข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างไร เพื่อจะได้นำไปประมวลสรุป
น.ส.วรรณพร มโนมัย ผู้แทนคนหูหนวกในจังหวัดเชียงราย ยกประเด็นการขอกู้เงินคนพิการที่ต้องให้คู่สมรสรับรอง (คู่สมรสเป็นชาวต่างประเทศ)ไม่สามารถรับรองได้
ผู้แทน พมจ.เชียงราย มีศูนย์บริการคนพิการทั่วไป ทำหน้าที่ในการสื่อสารกับคนพิการ ในพื้นที่ต่อเนื่อง และจังหวัดมีแนวทางที่จะจัดประชุมคณะอนุกรรมการให้เพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้น คนพิการจะได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น
นายพงษ์รัตน์ ชัชวรัตน์ ประธานเครือข่ายออทิสติก เชียงราย เสนอแนะเรื่อง กระบวนการกลั่นกรอง มีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมด้วยแต่หน่วยงานเปลี่ยนผู้เข้าประชุมบ่อย ทำให้ต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ คนพิการจึงได้รับการพิจารณาเงินกู้หรือโครงการล่าช้า เสนอให้ปรับเรื่องนี้
สว มณเฑียร บุญตัน เสนอเรื่อง การกู้เงินเป็นกลุ่ม และการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมคนพิการฯ
ที่ปรึกษา สุพล บริสุทธิ์ แนะนำ เกณฑ์การพิจารณาเงินกู้คนพิการ ทีมีความชัดเจน ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงควรยึดเกณฑ์เป็นหลัก และอำนวยความสะดวกคนพิการมากขึ้น โดยให้ยื่นคำขอที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยรับเรื่องการกู้ยืมเงินได้ และควรลดจำนวนคณะทำงานกลั่นกรองให้น้อยลง ลดความยุ่งยาก และจัดคนให้ตรงกับประเภทของงานเช่น คณะกลั่นกรองเงินกู้ กลั่นกรองโครงการ แยกกันให้ชัดเจน ประเด็นจดทะเบียนคนพิการ เชียงรายได้ ร้อยละ 3.17 ควรเพิ่มเป้าหมาย ให้มากขึ้น โดยให้ รพ.ชุมชนและอปท เป็นหน่วยบริการในพื้นที่เรื่อง รับการจดทะเบียนคนพิการ และส่งเรื่องมาที่ ศูนย์บริการฯจังหวัด มีระบบการออกลำดับทะเบียนเอกสารให้ชัดเจน การขอเพิ่มกรอบวงเงินกองทุนคนพิการศูนย์ สามารถขอกรอบเพิ่มเติมได้และสนับสนุนให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ จะชดทะเบียนเป็นศูนย์บริการคนพิการทั่วไปละขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนคนพิการ จังหวัดฯได้
ผอ.ศิริพร ดาระสุวรรณ์ ผอ.ศูนย์การศึกษาพิเศษ เชียงราย เสนอแนะว่า อนุการศึกษาคนพิการฯจังหวัดเชียงราย มีการจัดประชุม ปีละ 4 ครั้ง แต่งบสนับสนุนการจัดประชุมน้อย(35,000บาท/ปี) ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 4 ด้าน มี MOUร่วมกัน และการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและพมจ. องค์กรเอกชน โรงเรียนสพฐ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ศูนย์การศึกษานอกระบบ วิทยาลัยเทคนิค เทศบาล โรงพยาบาล และ อบต โดยหน่วยบริการทางการศึกษามี12 หน่วยบริการ ในเครือข่ายศูนย์การศึกษาพิเศษ มีจัดบุคลากรลงตามศูนย์สาขา โดยจัดข้าราชการครูการศึกษาพิเศษ ลงพื้นที่และจัดพี่เลี้ยงเด็กพิการให้ด้วย ทำงานตามแนว CBR หรือ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน การเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านคนพิการและที่รอการวินิจฉัยกับ พมจ จำนวน11,000 ราย ระบบคูปองการศึกษา ยังมีข้อจำกัดด้านกฎหมาย จึงจัดได้ไม่ทั่วถึง.มีเด็กพิการยื่นของงบคูปอง มากว่า 3,000คน ได้รับคูปองเพียง 1,000 คน
สว มณเฑียร บุญตัน เปิดประเด็น มาตรา 19/1 เรื่องคนพิการไร้สถานะที่รอการพิจารณาระเบียบ จึงขอให้จังหวัดช่วยรวบรวมข้อมูล จำนวนคนไทยที่ไร้สถานะไว้ เพื่อประกอบเป็นข้อมูลในการจัดทำระเบียบหรือกฎหมาย
นางมาลีวัลย์ ศรีวิลัย รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด แจ้งว่ามีระบบ Home Health Care และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นฯของ สปสช ตั้งงบไว้อำเภอละ 200,000 บาท และจัดหา แพมพัสให้คนพิการ ปรับสภาพแวดล้อมด้านสุขภาพเฉลี่ย 20,000ต่อราย มีโรงพยาบาลที่ฝึก O&Mสำหรับคนตาบอด การคัดกรอง การรับรองความพิการ. ข้อเสนอ คือ เชียงราย มีคนหูหนวก เข้าชื่อรอรับ เครื่องช่วยฟังจำนวนมาก ได้รับปีละ 20 เครื่องต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอ ขาดอีก 200 รายที่รอรับบริการ
ผู้แทนสภาคนพิการประจำจังหวัด เสนอเรื่องการปรับเพิ่มงบประมาณจัดสภาพแวดล้อมคนพิการให้เหมาะสมกับสภาพความพิการ
นพ.อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา เสนอว่า คกก.ปฎิรูปด้านสังคม เน้น5 เรื่อง มี2 เรื่องที่เกี่ยวข้อง คือ เรื่องที่ 3 การปฎิรูปการขึ้นทะเบียนคนพิการเพื่อให้คนพิการเข้าถึงโดยทั่วถึง และเรื่องที่ 2 ผลักดันให้มีฐานข้อมูลทางสังคมและคลังความรู้ระดับพื้นที่ เพื่อการเข้าถึงสวัสดิการของกลุ่มเป้าหมาย และให้ มอบหมายให้ อปท เป็นแกนในการทำข้อมูลด้านสังคมฯของพื้นที่

ชูศักดิ์ จันทยานนท์
ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ
รายงาน

Related posts