สถานการณ์โควิด-19 คนชายแดนใต้ว่างงาน ”พุ่ง” แรงงานไทยเดินทางกลับจากมาเลเซียสมทบ39,000 คน “ฟันธง” “ต้องมีการลงทุนเพิ่ม” แก้ปัญหาชายแดนต้ได้ครบทุกมิติ

สถานการณ์โควิด-19 คนชายแดนใต้ว่างงาน ”พุ่ง” แรงงานไทยเดินทางกลับจากมาเลเซียสมทบ39,000 คน “ฟันธง” “ต้องมีการลงทุนเพิ่ม” แก้ปัญหาชายแดนต้ได้ครบทุกมิติ

 

 

พลเรือตรีสมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต.เปิดเผยว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบปัญหาความยากจนมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสังคมและคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับต่ำกว่าพื้นที่อื่นของประเทศไทย ติดอันดับ 1-10 แทบทุกปี และบางปีได้รับการจัดอันดับรายได้ครัวเรือนต่ำที่สุดในประเทศไทยติดต่อกัน ผลกระทบจากปัญหาการว่างงาน ขาดโอกาสทำงานเนื่องจากข้อจำกัดและ ยังมีแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดประเทศมาเลเซียจากโรคโควิด-19 ระบาดเดินทางกลับอีก 39,000 คนอีก

“ตลาดแรงงานในพื้นที่ที่มีค่อนข้างจำกัดมาก ที่สำทับด้วยปัญหารายได้ของอนุภูมิภาคที่พึ่งพาสินค้าเกษตรหลักของพื้นที่และภาคการประมงที่หดตัวลงอย่างขัดเจนและต่อเนื่อง เชื่อมโยงผลกระทบจากรายได้ภาคอุตสาหกรรม ภาคการท่องเที่ยวและบริการที่หดตัวลงจนติดลบและยังไม่มีทางออกใดใดที่แก้ไขหรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น”

พลเรือตรีสมเกียรติเปิดเผยว่ากอปรกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคต้ ซึ่งประกอบด้วย จ.สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลาและ จ.สตูลกระทบต่อเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี กระทบด้านความมั่นคง มิติสังคม ด้านการศึกษา การกระจายอำนาจ สาธารณสุขและอนามัยแม่และเด็ก

พลเรือตรีสมเกียรติเปิดเผยว่าการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจจำเป็นจะต้องเริ่มจากปัจจัยทางเศรษฐกิจคือ “ต้องมีการลงทุนเพิ่ม”เพราะเป็นปัจจัยหลักที่จะทำห้เกิดรายได้ แต่การลงทุนเพิ่มจะเกิดขึ้นได้นั้น ผู้ประกอบการจะพิจารณาว่าภูมิภาคใดหรือพื้นที่ใดจะมีความเหมาะสมเชิงพื้นที่ ความพร้อมของสาธารณูปโภค ความพร้อมของวัตถุดิบ แรงงาน และปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจ ภารกิจที่ภาครัฐจะต้องจัดเตรียมไว้ให้ แต่ไม่ใช่เอื้อประโยชน์กับภาคเอกชน

“หากไม่มีความไม่พร้อมของเงื่อนไขการลงทุนเพิ่มก็จะไม่เกิดขึ้นและจะไม่สามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้เกิดขึ้นตามไปด้วย แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของภาคใต้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่ปัญหาด้านอื่นตามมาได้”

นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต.เปิดเผยว่าภาครัฐมีเป้าหมายชัดเจนที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของภาคใต้ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่จะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นในโครงการเมืองต้นแบบจะนะ เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น สำหรับอุตสาหกรรมที่สำคัญคือการลงทุนโดยภาคเอกชน ทำให้ไม่เป็นการสร้างภาระการจัดหางบประมาณเป็นจำนวนมากให้กับภาครัฐแต่อย่างใด

นายชนธัญเปิดเผยว่าโครงการนิคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ จะได้รับการตอบสนองจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้อยกว่าโครงการพื้นที่อุตสาหกรรมที่ดำเนินการและบริหารงานโดยภาคเอกชน เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ประกอบการอุตสาหกรรมที่ยังคงเหลืออยู่ในพื้นที่ จ.สงขลาที่ดำเนินการโดยภาครัฐ

นายชนธัญเปิดเผยว่าเป้าหมายกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมของโครงการเมืองต้นแบบฯมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ซึ่งไม่ทับซ้อนกับกลุ่มเป้าหมายของโครงการนิคมอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม ซึ่งไม่ใช่อุตฯปิโตรเคมีที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด”

“รัฐบาลส่งเสริมการลงทุนโดย บีโอไอ.มีนโยบายชัดเจนกำหนดให้แก่ผู้ลงทุนนเขต 4 จังหวัดโครงการจะนะเกิดขึ้นในพื้นที่ตามนโยบายการส่งเสริมของรัฐ การผลิตสินค้าในพื้นที่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีโรงเรือน ตามกฎหมายไม่ได้มีการยกเว้น มูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามสัดส่วนการลงทุนของเอกชนที่จะเข้ามานพื้นที่และมีส่วนที่ท้องถิ่นสามารถนำมาบริหารเองได้ ภาษีที่เข้าส่วนท้องถิ่นมูลค่าเกินพันล้านบาทต่อปี จะช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสามตำบลที่เป็นที่ตั้งโครงการ”

 

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

Related posts