สมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการแห่งประเทศไทย จัดโครงการ “ออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาคนพิการสร้างคุณค่าทางจิตใจและมูลค่าทางเศรษฐกิจเพื่อเกิดรายได้ให้แก่คนพิการ”

สมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการแห่งประเทศไทย จัดโครงการ “ออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาคนพิการสร้างคุณค่าทางจิตใจและมูลค่าทางเศรษฐกิจเพื่อเกิดรายได้ให้แก่คนพิการ”

วันที่ 7 เมษายน 2566 ณ สำนักงานเทศบาลเมืองลัดหลวง ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลบางจาก อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ ได้รับเกียรติจาก “นางสุมลฑา เจริญศิลป์” วัฒนธรรมจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานเปิดโครงการฯพร้อมทั้งกล่าวให้โอาทแก่คนพิการ และครอบครัวคนพิการ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายขับเคลื่อนสืบสานรักษาและต่อยอดวัฒนธรรม สู่การสร้างคุณค่า และมูลค่าทางสังคม และเศรษฐกิจจากแนวคิดเศรษฐกิจวัฒนธรรมใหม่สร้างรายได้เสริมสร้างคุณค่าพัฒนาสังคมด้วยวิสัยทัศน์ทางวัฒนธรรม

และความคิดสร้างสรรค์มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมไทยมุ่งมั่นส่งเสริมให้เด็กเยาวชน และประชาชนเข้าถึงศิลปวัฒนธรรมใช้ศักยภาพเพื่อการสร้างสรรค์นำวัฒนธรรมมาพัฒนาคุณภาพชีวิตส่งเสริมเศรษฐกิจ และสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรมมีความสุขมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน การจัดโครงการในครั้งนี้ “สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย” กระทรวงวัฒนธรรม เห็นความสำคัญจึงให้การสนับสนุนโครงการฯนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการในการสร้างสรรค์งานศิลป และนำไปต่อยอดในการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ ต่อไป

ทั้งนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายปรีชา ธีโรภาศ รองนายกเทศมนตรีเมืองลัดหลวง / นายสามารถ เขราเผชิญไชย รองนายกเทศมนตรีเมืองลัดหลวง / ร.ต.เลื่อนสาราสุข เลขานุการฯร่วมกล่าวโอวาท และให้กำลังใจต่อผู้เข้ารับการอบรม พร้อมทั้งยังให้การสนับสนุนสถานที่ อาคารและอุปกรณ์ต่างๆในการเพื่อจัดโครงการฯนี้อย่างเต็มที่

โดย “นางสาวภัสวรินทร์ กิตติโชคกุลพัทธ์” ว่าที่นายกสมาคมสหพันธ์แรงงานคนพิการแห่งประเทศไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการ “ออกแบบผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาคนพิการสร้างคุณค่าทางจิตใจและมูลค่าทางเศรษฐกิจเพื่อเกิดรายได้ให้แก่คนพิการ และครอบครัวคนพิการ” เพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการในการสร้างสรรค์งานศิลปะในการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าให้มีความน่าสนใจ และสวยงามทันสมัยใหม่ รวมถึงเกิดคุณค่าทางจิตใจและการสร้างคุณค่าในตัวเองเกิดจากการยอมรับทางสังคม

เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการนำภูมิปัญญามาออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เกิดความผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ของคนพิการรวมถึงผสมผสานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนในการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจากคนพิการ อย่างมีคุณค่า และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางสังคมไม่ให้มีความเหลื่อมล้ำกันในสังคมเกิดขึ้น

 

Related posts