“ คมกฤษ ” โยธา นำร่อง จุฬาฯ โมเดล “ ศุภชัย ” PEA พร้อมหนุน ระบบไฟฟ้าลงดินทันสมัย ปลอดภัย

“ คมกฤษ ” โยธา นำร่อง จุฬาฯ โมเดล “ ศุภชัย ” PEA พร้อมหนุน ระบบไฟฟ้าลงดินทันสมัย ปลอดภัย


นายคมกฤษ ศิริยุทธแสนยากร โยธาธิการและพังเมือง จังหวัดเลย ขอขอบคุณ นายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และนายประพันธ์ สีนวล รองผู้ว่าการวิศวกรรม ที่ให้ทีมงานโดย นายสิริวิชช์ พรพันธ์วัชรเดช ตำแหน่งรองผู้อำนวยการกองออกแบบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้ นายสิรณัฏฐ์ สิริวรภัสร์ หัวหน้าแผนกสำรวจแผนผัง และ นายวิทย์ ศรีท้าว หัวหน้าแผนกออกแบบสายส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาช่วยเหลือ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าใต้ดินให้ทันสมัย โดยใช้หม้อแปลงใต้ดิน ตอบโจทย์พัฒนา เชียงคานสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน สร้างความทันสมัย สร้างทัศนียภาพสวยงาม เมืองไม้เก่าแก่ให้มีความสมบูรณ์ ป้องกันอัคคีภัย ป้องกันไฟไหม้บ้านเรือนเก่าแก่กว่า 100 ปีของเชียงคาน เอกลักษณ์ความสวยงามบ้านไม้เก่าของภาคอีสาน ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากกว่า 3 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้เข้าเลยหลายร้อยล้านต่อปี”


นายคมกฤษ ศิริยุทธแสนยากร กล่าว โครงการนำสายสื่อสาร ระบบประปา และระบบสายไฟฟ้าลงดินทั้งระบบ เพิ่มจุดท่องเที่ยวโดยหม้อแปลงใต้ดิน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โมเดล) โครงสร้างฝาบ่อเป็นบ่อกระจก แสดงถึงความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า และสร้างความมั่นคงทางระบบไฟฟ้า ความปลอดภัยอัคคีภัย เนื่องจากหม้อแปลงใต้ดินเป็นระบบไฟฟ้าที่โดนควบคุมพื้นที่ และเป็นพื้นที่ ที่สามารถควบคุมเพลิงได้ดี ถนนคนเดินเชียงคานเป็นบ้านไม้เก่าที่มีชีวิต เสริมสร้างความยั่งยืนด้านความปลอดภัยอัคคีภัยให้กับพี่น้องชาวเชียงคาน เพราะระบบไฟฟ้าใต้ดินจะมีเสถียรภาพมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ ช่วยเสริมสร้างทัศนียภาพอันสวยงาม ไม่บังหน้าร้าน, ไม่บังร้านค้า ไม่บัง หน้าบ้าน ไม่มีสายไฟ ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนและปลอดภัยรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ วัฒนธรรมริมโขง บ้านเชียงคาน 100 ปี ที่มีชีวิต สู่นวัตกรรมสังคมคาร์บอนต่ำ ชูแหล่งท่องเที่ยวได้ดี


นายสมเจตน์ แสงเจริญรัตน์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย กล่าวว่า จังหวัดเลย ในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปมาก โดยเฉพาะอำเภอเชียงคาน พบว่า ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชียงคานเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย หากมีการควบคุมดูแลไม่เป็นระบบ จะส่งผลกระทบตามมาในระยะยาวได้ ทรัพยากรจะเสื่อมโทรมเร็ว อาจไม่สามารถฟื้นคืนสู่สภาพเดิมได้ วัฒนธรรมชุมชน มีสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่ วิถีชีวิตชุมชนจะเปลี่ยนแปลง เพี่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งการจัดการขยะมูลฝอย น้ำเสีย ระบบสาธารณูปโภคหากดูแลไม่ทั่วถึง จนกลายเป็นผลด้านลบต่อแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว ควรมีการพัฒนาเป็นระบบ จัดการการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน เพราะ อำเภอเชียงคาน เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี มีความเป็นเอกลักษณ์ด้านวิถีชีวิตและภูมิปัญญา บ้านเรือนเก่าแก่เป็นร้อยปี มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวทำให้เชียงคานสร้างแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาตลอดทั้งปี สร้างรายได้เข้าจังหวัดหลายร้อยล้านบาทต่อปี

#88PACIFIC
ข้อมูลข่าว:สมาคมสื่อมวลชนเพื่อสังคม

Related posts